เปิดคำสอนพระ 20 ข้อ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

06 มกราคม 2565

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระป่าที่ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนอย่างเคร่งครัด จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธา อีกทั้ง ยูเนสโกประกาศยกให้ "หลวงปู่มั่น" เป็นคนสำคัญของโลกสายสันติภาพ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หรือนามตามสมณศักดิ์ว่า พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต (20 มกราคม พ.ศ. 2413 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย 

หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิปทาธรรมปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์เรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า หรือ พระอาจารย์ใหญ่แห่งวงศ์พระกรรมฐานวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

คำสอนพระ แนวคำสอน คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ธรรมะ คําสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 

1. เราทั้งหลาย ต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้ อย่างเต็มภูมิ ดังที่ทราบอยู่แก่ใจ อย่าลืมตัวลืมวาสนา โดยลืมสร้างคุณงามความดีเสริมต่อ ภพชาติของเรา ที่เคยเป็นมนุษย์ จะเปลี่ยนแปลง และกลับกลายหายไป เป็นชาติที่ต่ำทราม ท่านจึงสอน ไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้น หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริง ๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดี กรรมชั่ว เรามีทางสร้างได้ เช่นเดียวกับผู้อื่น

พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต

2. การปฏิบัติธรรม เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนเรื่อง กาย วาจา จิต มิได้สอนเรื่องอื่น ทรงสอนให้ปฎิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า..กายานุปัสสนาสติปัฏฐานหัดสติให้มากในการค้นคว้า เรียกว่า..ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง การประกอบความพากเพียร ทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

คำสอนพระ 20 ข้อ

3. ศาสนาทางมิจฉาทิฏฐิ ก็นับวันจะแสดงปาฏิหาริย์ คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคและกระบือ ผู้ที่ฉลาดก็เหลือน้อย ฉะนั้น พวกเธอทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม พระธรรมเหล่านี้ไม่ล่วงไปไหน มีอยู่ ทรงอยู่ในปัจจุบัน จิตในปัจจุบัน ที่เธอทั้งหลายตั้งอยู่หน้าสติ หน้าปัญญา อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแล 

4. อย่าลดละท้อถอยความเพียร ธรรมเป็นสมบัติกลางและเป็นสมบัติของทุกคนที่ใคร่ต่อธรรม พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดไว้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต่างมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของได้ด้วยการปฏิบัติดีของตนด้วยกัน

5. เกิดมาแล้ว ก็แก่ เจ็บ ตายแต่ก่อนจะตาย ทานยังไม่มี ก็ให้มีเสีย ศีลยังไม่เคยรักษา ก็รักษาเสีย ภาวนายังไม่เคยเจริญ ก็เจริญให้พอเสียจะได้ไม่เสียที ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาด้วยความไม่ประมาท..นั้นละจึงจะสม กับที่ได้เกิดมาเป็นคน 

คำสอนพระ

6. อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่ หรือบุคคลใดๆ ว่าเป็นภัยและเป็นคุณ ให้เสียเวลาและล่าช้าไปเปล่า โดยไม
เกิดประโยชน์อะไร ยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลสกับธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ใจ 

7. คนมีทานย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผย และเด่นในปวงชน เป็นที่เคารพรักในหมู่ชน จะตกอยู่ทิศใดย่อมไม่อดอยาก ขาดแคลน จะมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์ ผู้มีทานประดับตน ย่อมไม่เป็นคนล้าสมัย บุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ

8. เราต้องการของดี คนดีจำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกตน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน

คำสอนพระ ของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

9. จะเอาอะไรมาเพิ่มอีก..ก็ถ้าหากตายไปในวันนี้วันพรุ่งนี้ สิ่งต่างๆที่เคยมีและผ่านเข้ามา ตะเกียดตะกายดิ้นรนไขว่คว้า ทุกอย่างก็จะเป็นเพียงแค่ สิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คำสอนพระ

10. บุคคลใดปฏิบัติแล้ว บุคคลนั้นย่อมพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เห็นความสุข ความยินดีน้อยหนึ่งในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ไม่เห็นซึ่งอะไรๆ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือที่สุดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งจะเข้าถึงความเป็นของไม่ควรถือเอา

11. ใครเพียร ใครอาจหาญ ใครอดทน ในการต่อสู้กับกิเลสตัวฝืนธรรมอยู่ตลอดเวลา ผู้นั้นจะเจอร่มเงาแห่งความสงบเย็นใจในโลกนี้ ในบัดนี้ และในดวงใจนี้ ไม่เนิ่นนานเหมือนการท่องเที่ยวที่เจือไปด้วยสุขด้วยทุกข์อยู่ทุกภพ ทุกชาติ ไม่มีวันจบสิ้น

12. ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดแต่ตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรมไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน

13. ผู้มีปัญญาไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ผู้มีปัญญาได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย ผู้มีปัญญาซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน

14. ไม่ควร " ยกโทษ ผู้อื่น " หรือ "เพ่งโทษผู้อื่น" ถึงแม้นผู้นั้น จะไม่ดีก็ตามที เพราะการเพ่งโทษผู้อื่น จะนำความวิบัติสู่ตนโดยไม่รู้ตัว ความเผลอสติ มักพาให้ผู้คนนั้น "ยกโทษผู้อื่น และพยายามยกคุณตนเอง" แทนที่จะ "ยกคุณผู้อื่น ยกโทษตนพิจารณา"

15. ฝึกตนดีแล้ว จึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่า ทำตามพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทฺโท โหติ คือ เป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ

16. วิธีการภาวนา คือ วิธีสังเกตตัวเอง สังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิก ไม่อยู่เป็นปกติสุข ด้วยการมีสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่ง เป็นคำบริกรรม เพื่อเป็นยารักษาจิตให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุขในขณะการภาวนา ท่านจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้น หรือ ยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริง ๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดี กรรมชั่ว เรามีทางสร้างได้เช่นเดียวกับผู้อื่น ผู้สงสัยกรรม หรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล คือ ลืมตน จะกลายเป็น ผู้มืดบอดอย่างช่วยไม่ได้

17. ความทุกข์ ทรมาน ความอดทน ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

18. ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริงทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์

19. การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจ ของผู้มีภาวนาจะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญเล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่เปิดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความอยากดั้งเดิมเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิด ถูก ชั่ว ดี พาเราเสียไป จนนับไม่ถ้วนประมาณไม่ถูก จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย ถ้าไม่มีสติระลึกบ้างเลยแล้วของเก่าก็เสียไป ของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันฟื้นคืนตัวได้

20. วิธีถ่ายถอนกิเลส...พึงเจริญอสุภภาวนา เพื่อละราคะเสีย พึงเจริญเมตตา เพื่อละพยาบาทเสีย พึงเจริญอานาปานสติเพื่อเข้าไปตัดวิตกเสีย พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนอัสมิมานะเสีย อนัตตาสัญญา ก็พึงเห็นพึงตั้งใจไว้ด้วยดี ความถอนอัสมิมานะขึ้นเสียได้ เป็นปรินิพพานในทิฏฐธรรมภพปัจจุบันนี้ทีเดียว

20 คำสอน หลวงปู่มั่น

หลวงปู่มั่น หรือ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต เป็น พระป่า ที่ได้ปฏิบัติตนตามแนวทาง คำสอน อย่างเคร่งครัด จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธา อีกทั้ง ยูเนสโก ประกาศยกให้ "หลวงปู่มั่น" เป็น คนสำคัญของโลกสายสันติภาพ แล้วแนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น)

ขอบคุณที่มาจาก : TNEWS