เปิดประวัติ หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน เทพเจ้าแห่งความเมตตา

02 กุมภาพันธ์ 2566

ประวัติหลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน ที่แกร่งกล้าด้านวิชาอาคมและยังมีเมตตา จนได้ฉายาว่า เทพเจ้าแห่งความเมตตา

หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน หากจจะพูดถึงเกจิอาจารย์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องความเมตตาและวิชาอาคม นั้น หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้ฉายาว่า เทพเจ้าแห่งความเมตตา และเป็นที่นับหน้าถือตาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนถึงปัจจุบัน วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาทุกท่านที่มีความเชื่อในทางพระพุทธศาสนามา เปิดประวัติเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

เปิดประวัติ หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน เทพเจ้าแห่งความเมตตา

หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก พระครูสมบูรณ์จริยธรรม หรือ หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน ชื่อเดิมคือ แม้น คานอ่อน ยอดพระเกจิชื่อดังจนได้รับสมญา เทพเจ้าแห่งความเมตตา แห่งเมืองกรุงเก่า อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2480 เกิดที่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็นศิษย์เอกทายาทพุทธาคม หลวงพ่อจง หรือชื่อเต็มคือ จาด จง คง อี๋ อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก ยอดพระเกจิสมัยสงครามอินโดจีน ผู้สร้างวัตถุมงคลแจกเหล่าทหารกล้า จนได้รับสมญา ทหารผีอินโดจีน

เปิดประวัติ หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน เทพเจ้าแห่งความเมตตา

เมื่อ หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน ยังเยาว์วัย ชื่นชอบการปฏิบัติธรรมและเรียนรู้เรื่องเวทมนต์คาถา และได้เป็นศิษย์หลวงปู่แดง วัดบางเตยนอก หลวงปู่ว่าน วัดบางเตยใน และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เมื่อหลวงพ่อจง เสียจึงได้ศึกษาธรรมต่อกับศิษย์หลวงพ่อจง อาทิ หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์, หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง, หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา และพระอาจารย์รวย วัดกลางคลองสาม

เมื่อ หลวงพ่อแม้น อายุได้ 27 ปี เดินทางเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ที่ วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา และได้หลวงพ่อพระครูภาวนารังสี เจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล ตั้งฉายาให้ว่า อาจารสัมปันโน แล้วจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดกลางคลองสาม จ.ปทุมธานี 1 พรรษา ก่อนจะกลับไปยังวัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ทางวัดหน้าต่างนอกนั้นมีตำแหน่งเจ้าอาวาส ทางวัดจึงอาราธนาหลวงพ่อแม้นเข้าเป็นเจ้าอาวาส

หลังจาก หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน เข้ามาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ ที่หลวงพ่อจงทิ้งไว้ และเดินตามแนวทางของหลวงพ่อจงอย่างดีเรื่อยมา ทั้งการสร้างวัตถุมงคล โดยมีทั้ง ตะกรุดเสือมหาอำนาจ เสื้อยันต์ เบี้ยแก้ เป็นต้น สืบทอดและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

เทพเจ้าแห่งความเมตตา ฉายาของหลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน เพราะความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เรียบง่าย ใจดี พูดจาไพเราะ ใจเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส มีเมตตา มีความตั้งใจในการสืบทอดพระบวรพุทธศาสนา อบรมบ่มนิสัยให้พุทธศาสนิกชนมุ่งมั่นทำความดี จึงเกิดเป็นศรัทธาเชื่อมั่นในบารมีของหลวงพ่อแม้น ที่นอกจากจะมีวิชาอาคมที่แกร่งกล้าแล้วยังเป็นที่นับถือในเรื่องของความมีเมตตาอีกด้วย แม้หลวงพ่อแม้นจะมรณภาพ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ก็ตาม ความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจต่อผู้ที่มีความศรัทธาก็ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

เปิดประวัติ หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน เทพเจ้าแห่งความเมตตา