ชลประทานเตือนเฝ้าระวัง ฝนตกหนัก 8-11 ก.ค. นี้ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน

06 กรกฎาคม 2566

กรมชลประทาน เตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ วันที่ 8-11 ก.ค. นี้

ชลประทานเตือนเฝ้าระวัง ฝนตกหนัก 8-11 ก.ค. นี้  พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน

ชลประทานเตือนเฝ้าระวัง ฝนตกหนัก 8-11 ก.ค. นี้  พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน

ชลประทานเตือนเฝ้าระวัง ฝนตกหนัก 8-11 ก.ค. นี้  พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน

ทางด้าน นาย ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2566 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เรื่องลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคุลมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น นั้น กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 8-11 กรกฎาคม 2566 ดังนี้

ชลประทานเตือนเฝ้าระวัง ฝนตกหนัก 8-11 ก.ค. นี้  พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอโขงเจียม, สิรินธร) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม, ธาตุพนม) จังหวัดมุกดาหาร (อำเมืองมุกดาหาร, หว้านใหญ่)

ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา, แกลง, บ้านค่าย และนิคมพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี, ขลุง, เขาคิชฌกูฏ, ท่าใหม่, มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด, บ่อไร่)

ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ (เกาะลันตา) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง, ตะกั่วป่า) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง, กะเปอร์) จังหวัดสตูล (อำเภอควนกาหลง, ท่าแพ, ทุ่งหว้า และมะนัง) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง, กันตัง, ย่านตาขาว, ห้วยยอด, วังวิเศษ และหาดสำราญ) จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน)

ทั้งนี้  กรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมรับมือ โดยติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และกำหนดจุดเสี่ยงพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก พิจารณาบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ และระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที