ผลการศึกษาขั้นต้นชี้ วัคซีนที่มีในไทย สูตรไหนใช้ต่อกร สายพันธุ์เดลตาได้

09 กรกฎาคม 2564

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ส่วนตัว เผยผลการศึกษาขั้นต้น วัคซีนที่มีในไทย สูตรไหนใช้ต่อกร Covid สายพันธุ์เดลตาได้

โดยความร่วมมือจาก ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยไวรัสวิทยา BIOTEC ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ สถาบันโรคทรวงอก ซึ่งมีเนื้อหาระบุว่า..

ในขณะที่วัคซีนชนิดอื่นๆเช่น mRNA , Protein subunit ยังไม่มี การบริหารวัคซีนที่มี 2 ชนิด คือ Sinovac or Sinopharm หรือ Astra Zeneca จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องรีบหาคำตอบว่าสูตรไหนจะป้องกันสายเดลตาได้

จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า Sinovac 2 เข็มแม้ระดับNeutralize antibody ขึ้น 80-90% แม้ว่าจะวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์แอลฟาได้บ้างแต่ไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้เลย

แต่ในคนที่ได้ AZ ครบ2 เข็มและมีระดับNeutralize antibody ที่สูงเกิน 90% สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดีระดับหนึ่งและ ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ B.1.1.7 เมื่อ wave3 ที่ผ่านมา เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วย AZ เข็มเดียวให้ระดับการป้องกันสายพันธุ์ เดลตาได้เทียบเท่า AZ 2 เข็ม ส่วนผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ B.1.1.7 อีกคน แม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์แอลฟาที่สูงแต่กับ เดลตา กับมีน้อยมาก

วัคซีนสูตรผสม SV + AZ ให้ระดับการป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดีกว่า SVx2 แต่ไม่เท่า AZx2 สุดท้าย ที่ดูแนวโน้มดีสุด คือ ผู้ที่ได้ SVx2 + AZx1 ที่เป็นอาสาสมัครในการทดสอบ มีระดับภูมิคุ้มกัน Neutralize antibody สูง99% รวมถึง ค่า IC50 ต่อสายพันธุ์ เดลตา ในระดับสูงสุด

จากข้อมูลการศึกษาเบื้องต้น แม้ว่าเราจะยังไม่มีวัคซีน mRNA แต่สำหรับบุคลากรด่านหน้าผู้เสียสละ ซึ่งได้รับSV เป็นส่วนมากในช่วงแรก แต่ระดับการป้องกันตอนนี้คงไม่เพียงพอต่อไวรัสกลายพันธุ์เดลตา การใช้ AZ เป็นเข็มกระตุ้น ก็น่าจะเพียงพอให้เขาปลอดภัยในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนชนิดmRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

ขอบคุณ 
ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยไวรัสวิทยา BIOTEC และ ทีมงานที่ช่วยทำการทดสอบ ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ เดลตา